วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มารยาทในการเต้นลีลาศ


     มารยาทในการเต้นลีลาศ
                                                                                             


1.            แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาลเทศะจะเป็นการสร้างความสนใจบุคลิกภาพของตนเอง
2.             อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว
3.             ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือกับคู่ลีลาศของตน
4.             มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนใจในการเต้นลีลาศ
5.            สุภาพบุรุษต้องให้เกียติสุภาพสตรี และบุคคลอื่นในทุก สถาณการณ์ และจะต้องไปรับสุภาพสตรีที่ตน
            เชิญไปร่วมงาน
6.             ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุในบัตรเชิญ
7.             ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของคบเคี้ยวใดๆ ในขณะลีลาศ
8.             ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเอง หรือคู่ลีลาศ
9.             ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเมามากไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
10.          ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน



รายชื่อในกลุ่ม

1. นส.  ฉันชนก         ทวีปัญญาภรณ์      ม.6/6  เลขที่ 14
2. นาย   วรรณพงษ์      ภูมิผิว                    ม.6/6   เลขที่15
3. นาย  ปฐมพงษ์          แซ่ลี้                      ม.6/6 เลขที่ 16
4.  นาย  จีรทีปต์             คุปตะสิริ              ม.6/6  เลขที่ 17
5.  นส.  ชุตินนันต์        อรจุล                     ม.6/6  เลขที่ 18
6.  นส.    ฤทัย                  แซ่ตึ๋ง                    ม.6/6  เลขที่  19         



วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนที่ 1



สรุปบทเรียนที่  1

กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทระบบสืบพันธุ์และระบบต่อมไร้ท่อ

สาระสำคัญ
       อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีความสำคัญต่อร่างกายทั้งสิ้น
หากระบบใดทำงานผิดปกติก็จะส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ด้วย   เราจึงควรรู้จักป้องกันช

1.1   ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริมการทำงานของระบบ ในร่างกายต่าง ๆ
        เมื่อกล่าวถึงความสำคัญของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย 
การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงาน มีแนวทางปฏิบัติ    ดังนี้
           1. รักษาอนามัยส่วนบุคคล                                          2. บริโภคอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม
           3. ออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ                                     4. พักผ่อนให้เพียงพอ
           5. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ                           6. หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
           7. ตรวจเช็คร่างกาย


1.2    ระบบประสาท  ( Nervous  System )
         ระบบประสาท   คือ  ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย  ซึ่งทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุก ส่วน  รวมถึงการนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่างๆ 
1.2.1  องค์ประกอบของระบบประสาท
         ระบบประสาทของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ    คือ  ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย
1. ระบบประสาทส่วนกลาง    ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง  เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
          สมอง   เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ของระบบประสาท   สมองแบ่งออกเป็น 2 ชั้น 
     1. สมองส่วนหน้า     ประกอบด้วย  ซีรีบรัม , ทาลามัส และไฮโพทาลามัส
     2. สมองส่วนกลาง    ประกอบด้วย  เทคตัม 
     3. สมองส่วนท้าย     ประกอบด้วย   ซีรีเบลลัม
            ไขสันหลัง    ทำหน้าที่ รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆ  ของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง  
2. ระบบประสาทส่วนปลาย    ประกอบด้วย  เส้นประสาทสมอง  เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ  ระบบประสาทส่วนปลายจะทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆ  ของร่างกาย
1.2.2   การทำงานของระบบประสาท
         ทำหน้าที่ประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ  เช่น  ขณะที่เราอ่านเนื้อหาของบทเรียนอยู่นั้น ระบบประสาทใน
ร่างกายของนักเรียนกำลังแยกการทำงานอย่างหลากหลาย
1.2.3   การบำรุงรักษาระบบประสาท
           1. ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ           2. ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง  
           3. หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆ ที่มีผลต่อสมอง                            4. พยายามผ่อนคลายความเครียด
           5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย


1.3     ระบบสืบพันธุ์    ( Reproductive  System )
         ระบบการสืบพันธุ์  เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นการทดแทนสิ่ง
มีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป
  เพื่อให้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้ ซึ่งการสืบพันธุ์ของมนุษย์
1.3.1   อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
          1. อัณฑะ     เป็นต่อมที่มีลักษณะคล้ายรูปไข่ อยู่ในถุงหุ้มอัณฑะ  
          2. ถุงหุ้มอัณฑะ     เป็นถุงของผิวหนังอยู่นอกช่องท้อง  ซึ่งสีของผิวหนังจะเข้ม
          3. หลอดเก็บตัวอสุจิ     มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ขดทบไปมา   ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิ
          4. หลอดนำตัวอสุจิ    เป็นท่ออยู่ถัดส่วนล่างของหลอดเก็บตัวอสุจิ   ทำหน้าที่ลำเลียง
          5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ     เป็นต่อมรูปร่างคล้ายถุงยาวๆ ผนังไม่เรียบ  ทำหน้าที่สร้างอาหาร
          6. ต่อมลูกหมาก     เป็นต่อมที่มีขนาดใกล้เคียงกับลูกหมาก   ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
          7. ต่อมคาวเปอร์     เป็นต่อมที่มีรูปร่างกลมเท่าถั่ว    ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่น
1.3.2    อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
         1. รังไข่     มีลักษณะรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์    ทำหน้าที่ 1. ผลิตไข่ 
         2. ท่อนำไข่หรือปีกมดลูก     เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างรังไข่
         3. มดลูก     มีรูปร่างคล้ายชมพู่   
         4. ช่องคลอด     เป็นท่อยาวจากปากช่องคลอดไปจนถึงปากมดลูก   
1.3.3     การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
             1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอย่าสม่ำเสมอ โดยรับประทานอาหาร 5 หมู่
             2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
             3. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 
             4. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เคร่งเครียด
             5. ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ อ
             6. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้นและอย่ารัดแน่น
             7. ไม่ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนุ่มห่มร่วมกับผู้อื่น
             8. ไม่สำส่อนทางเพศ งดเว้นการเปลี่ยนคู่นอน อาจติดเชื้อเอดส์
             9. เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์


1.4      ระบบต่อมไร้ท่อ
         ระบบต่อมไร้ท่อ  เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน  เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสาร
เหล่านั้นไปตามกระแสเลือดสู่อวัยวะเป้าหมาย  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ 
1.4.1   ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
                  1. ต่อมใต้สมอง                   2. ต่อมหมวกไต     
                  3. ต่อมไทรอยด์                  4. ต่อมพาราไทรอยด์     
                  5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน        6. รังไข่ในเพศหญิง,ชาย   
                  7. ต่อมไทมัส     
1.4.2     การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
         1. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่
          2. ดื่มน้ำในปริมาณทั้เพียงพอ  ประมาณ 6-8 แก้ว/วัน
          3. ออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ
          4. ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
          5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
          6. พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวก