วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาออกกำลังกายกันเถอะ


มาออกกำลังกายกันเถอะ

               
การออกกำลังกาย  ไม่ได้หมายถึงการต้องไปแข่งขันกีฬากับผู้อื่น แต่การออกกำลังกายเป็นการแข่งขันกับตัวเอง  หลายคนก่อนจะออกกำลังกายมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวกับอากาศ ทั้งหมดเป็นข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาแต่ลืมไปว่าการออกกำลังกายอาจจะให้ผลดีมากกว่าสิ่งที่เขาเสียไป เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ เช่น การวิดพื้น ซิดอับ กระโดดเชือก เป็นต้น โดยไม่ต้อใช้พื้นที่มากในการออกกำลังกาย   และมีเพียงพื้นที่ในการวิ่งเล็กน้อยก็พอ การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่จะทำงานและต่อสู้กับชีวิต นอกจากนั้นยังสามารถลดความเครียดได้ด้วย  แต่การออกจะต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วย  และพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อที่จะไม่ให้ร่างกาย อ่อนเพรียเกินไป อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ การเริ่มต้นในการออกกำลังกายง่าย เช่น การเดินไปซื้อของตามร้านค้าแทนรถจักยานยนต์ การปั่นจักยานไปพาเพื่อนบ้านภายในหมู่บ้าน ทำงานบ้าน เช่นทำสวน ล้างรถ ถูบ้าน ว่ายน้ำ เต้นแอร์โรบิค แต่ไม่ต้องนาน เป็นต้น เทคนิคของการออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เลือกการออกกำลังกายที่ชอบที่สุด และสะดวกที่สุด  ครอบครัวอาจจะมีส่วนร่วมด้วยก็จะดี ช่วงแรกๆของการออกกำลังกายไม่ควรจะหยุด ให้ออกจนเป็นนิสัย บันทึกการออกกกำลังกายไว้ หาเป็นไปได้ควรจะมีกลุ่มเพื่อออกกำลังกายร่วมกันเพราะกลุ่มจะช่วยกันประคับประคอง ตั้งเป้าหมายการออกกำลังและการรับประทานทุกเดือนโดยอย่าตั้งเป้าหมายสูงเกินไป ติดตามความก้าวหน้าโดยดูจากสมุดบันทึก ออกกำลังกายอย่างปลอดภัย ถ้าหากท่านได้เตรียมความพร้อมที่จะออกกำลังกายแล้วอยากจะฟิตร่างกายท่าน สามารถทำได้ทันที แต่หากมีอาการหรือโรคต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฟิตร่างกาย เช่น ถ้าท่านอายุมากกว่า 45ปี หรือมีโรคประจำตัวเช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ  มีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยมากมีอาการหน้ามืด

มาออกกำลังกายกันเถอะ


มาออกกำลังกายกันเถอะ

               
การออกกำลังกาย  ไม่ได้หมายถึงการต้องไปแข่งขันกีฬากับผู้อื่น แต่การออกกำลังกายเป็นการแข่งขันกับตัวเอง  หลายคนก่อนจะออกกำลังกายมักจะอ้างเหตุผลของการไม่ออกกำลังกาย เช่น ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาเกี่ยวกับอากาศ ทั้งหมดเป็นข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาแต่ลืมไปว่าการออกกำลังกายอาจจะให้ผลดีมากกว่าสิ่งที่เขาเสียไป เป็นที่น่าดีใจว่าการออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ เช่น การวิดพื้น ซิดอับ กระโดดเชือก เป็นต้น โดยไม่ต้อใช้พื้นที่มากในการออกกำลังกาย   และมีเพียงพื้นที่ในการวิ่งเล็กน้อยก็พอ การออกกำลังจะทำให้รูปร่างดูดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคอ้วน การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น มีพลังที่จะทำงานและต่อสู้กับชีวิต นอกจากนั้นยังสามารถลดความเครียดได้ด้วย  แต่การออกจะต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วย  และพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อที่จะไม่ให้ร่างกาย อ่อนเพรียเกินไป อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ การเริ่มต้นในการออกกำลังกายง่าย เช่น การเดินไปซื้อของตามร้านค้าแทนรถจักยานยนต์ การปั่นจักยานไปพาเพื่อนบ้านภายในหมู่บ้าน ทำงานบ้าน เช่นทำสวน ล้างรถ ถูบ้าน ว่ายน้ำ เต้นแอร์โรบิค แต่ไม่ต้องนาน เป็นต้น เทคนิคของการออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เลือกการออกกำลังกายที่ชอบที่สุด และสะดวกที่สุด  ครอบครัวอาจจะมีส่วนร่วมด้วยก็จะดี ช่วงแรกๆของการออกกำลังกายไม่ควรจะหยุด ให้ออกจนเป็นนิสัย บันทึกการออกกกำลังกายไว้ หาเป็นไปได้ควรจะมีกลุ่มเพื่อออกกำลังกายร่วมกันเพราะกลุ่มจะช่วยกันประคับประคอง ตั้งเป้าหมายการออกกำลังและการรับประทานทุกเดือนโดยอย่าตั้งเป้าหมายสูงเกินไป ติดตามความก้าวหน้าโดยดูจากสมุดบันทึก ออกกำลังกายอย่างปลอดภัย ถ้าหากท่านได้เตรียมความพร้อมที่จะออกกำลังกายแล้วอยากจะฟิตร่างกายท่าน สามารถทำได้ทันที แต่หากมีอาการหรือโรคต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฟิตร่างกาย เช่น ถ้าท่านอายุมากกว่า 45ปี หรือมีโรคประจำตัวเช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ  มีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยมากมีอาการหน้ามืด

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย กับการป้องกันโรคในชุมชน


ภูมิปัญญาไทย      หมายถึง    องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านมากระบวนการเรียนรู้  เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนาและถ่ายทอดสืบกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย
              ภูมิปัญญาไทย มีลักษณะเป็นองค์รวมและมีคุณค่าทางวัฒนธรรม เกิดขึ้นในวิถีชีวิตไทย ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงมขึ้นใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาการจัดการและการปรับตัวในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้าน


ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
  • 1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม
  • 2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
  • 3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน
  • 4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม

การแพทย์แผนไทย( Thai Traditional Medicine )
       
 หมายถึง กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสุขภาพ

การแพทย์แผนไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของตัวเองได้ เช่น
1. การนวดแผนไทย เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค การนวดไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
            1.  การนวดแบบราชสำนัก
           2.  การนวดแบบเชลยศักดิ์
การนวดไทยมีผลดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน เช่น การกระตุ้นระบบประสาท  และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง เป็นต้น
2. กระประคบสมุนไพร เป็นการใช้สมุนไพรในการฟื้นฟูสุขภาพโดยการนำสมุนไพรมาห่อและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการ
     ปวดเมื่อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้
3. น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพร และอาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงอยู่ในภาวะปกติ โดยเกิด
     จากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ เช่น น้ำขิงช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
4. การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิถีชีวิต และความเชื่อ จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยซึ่งมีผลต่อ  
     สภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบ
5. กายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ เมื่อปฏิบัติ     อย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ส่งเสริมสุขภาพในชุมชนและสังคม



1. ชื่อโครงการ    :    โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต
2.หลักการและเหตุผล
               การสร้างเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ บ้านพักคนชรานั้น จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกาย
         และสุขภาพภาพจิตใจแข็งแรงมากขึ้น และได้ร่วมกันทำกิจกรรมสามัคคีกันระหว่างผู้สูงอายุ ซึ่งคอยแลก
         เปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างการทำกิจกรรม และใช้เวลาว่างที่เสียให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง

3. วัตถุประสงค์
        1.)  ป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะมาแทรกแซงเข้าสู่ร่างกาย
        2.)  ปลูกฝังให้ออกกำลังกายบ่อยขึ้น
        3.)  ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
        4.)  มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและสุขภาพจิตใจดีขึ้น


4. กลุ่มเป้าหมาย
         ผู้สูงอายุ บ้านพักคนชรา      ประมาณ  40-55  คน

5. วิธีดำเนินการ
        1.)  ให้ผู้สูงอายุ ออกความคิดเห็นในการหากิจกรรมที่จะทำ
        2.)  เลือกประธานผู้สูงอายุ  เพื่อเป็นหัวหน้าการทำกิจกรรม
        3.)  หาสถานที่ที่จะจัดทำกิจกรรม  เช่น  บริเวณสนามบ้านพักคนชรา
        4.)  ลองปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ที่ได้จัดขึ้น
        5.)  ประเมินและสรุปผลโครงการ       
6. ระยะเวลาในการดำเนินการ   :     3 กรกฎาคม  -  3 สิงหาคม   พ.ศ.2554

7. สถานที่ดำเนินการ  :    บริเวณสนามบ้านพักคนชรา
8. งบประมาณ   :    15,000  บาท

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        1.)  ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมากขึ้น
        
2.)  ป้องกันโรคร้ายแรงที่เข้ามาได้ดี
        3.)  ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์
       
10. ผู้รับผิดชอบโครงการ   :    นายปฐมพงษ์   แซ่ลี้     เลขที่ 16   ม.6/6

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มารยาทในการเต้นลีลาศ


     มารยาทในการเต้นลีลาศ
                                                                                             


1.            แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาลเทศะจะเป็นการสร้างความสนใจบุคลิกภาพของตนเอง
2.             อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว
3.             ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือกับคู่ลีลาศของตน
4.             มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนใจในการเต้นลีลาศ
5.            สุภาพบุรุษต้องให้เกียติสุภาพสตรี และบุคคลอื่นในทุก สถาณการณ์ และจะต้องไปรับสุภาพสตรีที่ตน
            เชิญไปร่วมงาน
6.             ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุในบัตรเชิญ
7.             ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของคบเคี้ยวใดๆ ในขณะลีลาศ
8.             ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเอง หรือคู่ลีลาศ
9.             ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเมามากไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
10.          ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน



รายชื่อในกลุ่ม

1. นส.  ฉันชนก         ทวีปัญญาภรณ์      ม.6/6  เลขที่ 14
2. นาย   วรรณพงษ์      ภูมิผิว                    ม.6/6   เลขที่15
3. นาย  ปฐมพงษ์          แซ่ลี้                      ม.6/6 เลขที่ 16
4.  นาย  จีรทีปต์             คุปตะสิริ              ม.6/6  เลขที่ 17
5.  นส.  ชุตินนันต์        อรจุล                     ม.6/6  เลขที่ 18
6.  นส.    ฤทัย                  แซ่ตึ๋ง                    ม.6/6  เลขที่  19         



วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทเรียนที่ 1



สรุปบทเรียนที่  1

กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทระบบสืบพันธุ์และระบบต่อมไร้ท่อ

สาระสำคัญ
       อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีความสำคัญต่อร่างกายทั้งสิ้น
หากระบบใดทำงานผิดปกติก็จะส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ด้วย   เราจึงควรรู้จักป้องกันช

1.1   ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริมการทำงานของระบบ ในร่างกายต่าง ๆ
        เมื่อกล่าวถึงความสำคัญของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย 
การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงาน มีแนวทางปฏิบัติ    ดังนี้
           1. รักษาอนามัยส่วนบุคคล                                          2. บริโภคอาหารให้ถูกต้องเหมาะสม
           3. ออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ                                     4. พักผ่อนให้เพียงพอ
           5. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ                           6. หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
           7. ตรวจเช็คร่างกาย


1.2    ระบบประสาท  ( Nervous  System )
         ระบบประสาท   คือ  ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย  ซึ่งทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุก ส่วน  รวมถึงการนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่างๆ 
1.2.1  องค์ประกอบของระบบประสาท
         ระบบประสาทของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ    คือ  ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย
1. ระบบประสาทส่วนกลาง    ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง  เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
          สมอง   เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ของระบบประสาท   สมองแบ่งออกเป็น 2 ชั้น 
     1. สมองส่วนหน้า     ประกอบด้วย  ซีรีบรัม , ทาลามัส และไฮโพทาลามัส
     2. สมองส่วนกลาง    ประกอบด้วย  เทคตัม 
     3. สมองส่วนท้าย     ประกอบด้วย   ซีรีเบลลัม
            ไขสันหลัง    ทำหน้าที่ รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆ  ของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง  
2. ระบบประสาทส่วนปลาย    ประกอบด้วย  เส้นประสาทสมอง  เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ  ระบบประสาทส่วนปลายจะทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆ  ของร่างกาย
1.2.2   การทำงานของระบบประสาท
         ทำหน้าที่ประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ  เช่น  ขณะที่เราอ่านเนื้อหาของบทเรียนอยู่นั้น ระบบประสาทใน
ร่างกายของนักเรียนกำลังแยกการทำงานอย่างหลากหลาย
1.2.3   การบำรุงรักษาระบบประสาท
           1. ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ           2. ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง  
           3. หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆ ที่มีผลต่อสมอง                            4. พยายามผ่อนคลายความเครียด
           5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย


1.3     ระบบสืบพันธุ์    ( Reproductive  System )
         ระบบการสืบพันธุ์  เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นการทดแทนสิ่ง
มีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป
  เพื่อให้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้ ซึ่งการสืบพันธุ์ของมนุษย์
1.3.1   อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
          1. อัณฑะ     เป็นต่อมที่มีลักษณะคล้ายรูปไข่ อยู่ในถุงหุ้มอัณฑะ  
          2. ถุงหุ้มอัณฑะ     เป็นถุงของผิวหนังอยู่นอกช่องท้อง  ซึ่งสีของผิวหนังจะเข้ม
          3. หลอดเก็บตัวอสุจิ     มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ขดทบไปมา   ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิ
          4. หลอดนำตัวอสุจิ    เป็นท่ออยู่ถัดส่วนล่างของหลอดเก็บตัวอสุจิ   ทำหน้าที่ลำเลียง
          5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ     เป็นต่อมรูปร่างคล้ายถุงยาวๆ ผนังไม่เรียบ  ทำหน้าที่สร้างอาหาร
          6. ต่อมลูกหมาก     เป็นต่อมที่มีขนาดใกล้เคียงกับลูกหมาก   ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
          7. ต่อมคาวเปอร์     เป็นต่อมที่มีรูปร่างกลมเท่าถั่ว    ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่น
1.3.2    อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
         1. รังไข่     มีลักษณะรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์    ทำหน้าที่ 1. ผลิตไข่ 
         2. ท่อนำไข่หรือปีกมดลูก     เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างรังไข่
         3. มดลูก     มีรูปร่างคล้ายชมพู่   
         4. ช่องคลอด     เป็นท่อยาวจากปากช่องคลอดไปจนถึงปากมดลูก   
1.3.3     การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
             1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอย่าสม่ำเสมอ โดยรับประทานอาหาร 5 หมู่
             2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
             3. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 
             4. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เคร่งเครียด
             5. ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ อ
             6. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้นและอย่ารัดแน่น
             7. ไม่ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนุ่มห่มร่วมกับผู้อื่น
             8. ไม่สำส่อนทางเพศ งดเว้นการเปลี่ยนคู่นอน อาจติดเชื้อเอดส์
             9. เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์


1.4      ระบบต่อมไร้ท่อ
         ระบบต่อมไร้ท่อ  เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน  เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสาร
เหล่านั้นไปตามกระแสเลือดสู่อวัยวะเป้าหมาย  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ 
1.4.1   ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
                  1. ต่อมใต้สมอง                   2. ต่อมหมวกไต     
                  3. ต่อมไทรอยด์                  4. ต่อมพาราไทรอยด์     
                  5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน        6. รังไข่ในเพศหญิง,ชาย   
                  7. ต่อมไทมัส     
1.4.2     การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
         1. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่
          2. ดื่มน้ำในปริมาณทั้เพียงพอ  ประมาณ 6-8 แก้ว/วัน
          3. ออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ
          4. ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
          5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
          6. พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวก